คำอธิบายรายวิชา
ศ13101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
คำอธิบายรายวิชากลุ่มสาระศิลปะ
เวลา 80 ชั่วโมง
.....ศึกษารูปร่างรูปทรงในธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สร้างผลงาน เมื่อชมงาน
ทัศนศิลป์ ทัศนธาตุของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ทัศนศิลป์เน้นเรื่องเส้น สี รูปร่าง
รูปร่างลักษณะของเครื่องดนตรีที่เห็น ที่ได้ยิน ในชีวิตประจำวัน รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนเสียงหน้าที่ของเพลงที่ได้ยิน ขับร้องบรรเลงดนตรีง่าย ๆ เคลื่อนไหวท่าทาง เข้าใจและแสดงการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ ในสถานการณ์สั้น ๆ ท่าทางประกอบเพลงตามรูปแบบนาฏศิลป์ บทบาทหน้าที่ของผู้แสดงและผู้ชม กิจกรรมการแสดงที่เหมาะสมกับวัยประโยชน์ของการแสดงนาฏศิลป์ในชีวิตประจำวัน การแสดงนาฏศิลป์ที่เคยเห็นในท้องถิ่น สิ่งที่เป็นลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ของการแสดงนาฏศิลป์ ความสำคัญของการแสดงนาฏศิลป์โดยบรรยายรูปร่างรูปทรงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สร้างผลงานเมื่อชมงานทัศนศิลป์ จำแนกทัศนศิลป์ของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์โดยเน้นเรื่องเส้นสี รูปร่าง รูปทรงและพื้นผิว ระบุอุปกรณ์ที่ใช้สร้างผลงานเมื่อชมงานทัศนศิลป์ วาดภาพระบายสีสิ่งที่อยู่รอบตัว ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกจากเหตุการณ์จริงโดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สีและพื้นผิวสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์เป็นรูปแบบงานโครงสร้างเคลื่อนไหว ระบุรูปร่างลักษณะของเครื่องดนตรีที่เห็น ได้ยิน ในชีวิตประจำวัน ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนเสียงและเคาะจังหวะ บอกบทบาทหน้าที่ของเพลงที่ได้ยิน ขับร้องและบรรเลงดนตรีง่าย ๆ เคลื่อนไหวท่าทางสอดคล้องกับอารมณ์ของเพลงที่ฟังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรีเสียงขับร้องของตนเองและผู้อื่น โดยการสร้างสรรค์ แสดงเปรียบเทียบ ร่วมกิจกรรม บอก เล่า ระบุและอธิบายเพื่อให้เห็นคุณค่าของความสวยงามตามธรรมชาติ เกิดความรู้สึกชื่นชมธรรมชาติ สามารถคิดและแสดงความรู้สึกจากการรับรู้ความงาม ความเพลิดเพลิน เกิดความมั่นใจใจตนเองในการสร้างงานทัศนศิลป์และรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำดนตรีไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เพื่อเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ไทย เกิดความชื่นชมนาฏศิลป์ไทย สามารถนำกิจกรรมของนาฏศิลป์ไปใช้แสดงในโอกาสต่าง ๆ เพื่อความเพลิดเพลินแก่ตนเองและผู้อื่น
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
สังเกตสู่สร้างสรรค์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เวลา 1 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 สร้างความสวยด้วยสี : สีไม้
มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
มฐ. ศ 1.1 ป. 3/3 จำแนกทัศนธาตุของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ โดยเน้นเรื่อง เส้น สี รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว
มฐ.ศ ๑.๑ ป. ๓/๙ ระบุและจัดกลุ่มของภาพตามทัศนธาตุที่เน้นในงานทัศนศิลป์นั้นๆ
มฐ.ศ ๑.๑ ป. ๓/๑0 บรรยายลักษณะรูปร่าง รูปทรง ในการออกแบบสิ่งที่มีในบ้านและโรงเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
สาระสำคัญ....................สีเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถระบายให้ภาพมีความเหมือนจริงหรือสดใสเกินจริงด้วยเทคนิคการใช้สีต่างๆ เช่น สีเทียน สีไม้ สีน้ำ สีโปสเตอร์
.........นักเรียนวาดภาพตามจินตนาการ แล้วใช้สีไม้ระบายสีภาพวาดของตนเอง จากนั้นนำภาพของตนเองมาชื่นชมและวิจารณ์ผลงานร่วมกัน
1. บอกวิธีการใช้สีไม้ในการระบายสีภาพให้ดูสวยงาม (K)
2. สร้างความสวยให้กับภาพด้วยสีไม้ (P)
3. ชื่นชมผลงานของตนเองและผู้อื่น (A)
สาระสำคัญ
ความรู้
สร้างความสวยด้วยสี : สีไม้
ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
การสรุปความรู้ การปฏิบัติ การประเมินค่า
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน
นักเรียนสามารถสรุปได้ว่า สีไม้ เมื่อนำมาระบายภาพแล้วจะเห็นเป็นลายเส้นที่สวยงาม ชิ้นงานหรือภาระงาน(หลักฐาน ร่องรอยแสดงความรู้)
นักเรียนมีวิธีการและเทคนิคการใช้สีไม้ในการระบายสีภาพของตนเองอย่างไร R ผลงานการสร้างความสวยด้วยสีไม้
ความเข้าใจที่คงทน (Enduring Understanding)
สาระการเรียนรู้
คำถามท้าทาย
R
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. นักเรียนทบทวนความรู้เกี่ยวกับ การใช้สีเทียนในการระบายภาพ โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
R การใช้สีเทียนในการระบายภาพ จะทำให้ภาพภาพนั้นมีลักษณะเด่นอย่างไร (ตัวอย่างคำตอบ เห็นพื้นผิวได้อย่างชัดเจน)
R นักเรียนมีเทคนิคและวิธีการใช้สีเทียนในการระบายภาพวาดของตนเองอย่างไรให้เกิดความสวยงาม (นักเรียนตอบตามประสบการณ์)
2. ครูนำภาพต่างๆ ที่ระบายด้วยสีเทียน สีไม้ สีน้ำและสีโปสเตอร์ อย่างละ 1 ภาพ มาให้นักเรียนดู จากนั้นนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามดังนี้
R ภาพใดระบายด้วยสีไม้ (นักเรียนตอบตามความเป็นจริง)
R ภาพที่ระบายด้วยสีไม้มีลักษณะอย่างไร (ตัวอย่างคำตอบ สีไม่ฉูดฉาด เห็นเป็นลายเส้นสวยงาม)
R นักเรียนเคยใช้สีไม้ระบายสีภาพวาดของตนเองหรือไม่ (ตัวอย่างคำตอบ เคย)
R นักเรียนชอบใช้สีไม้ระบายสีภาพวาดของตนเองหรือไม่ เพราะอะไร (นักเรียนตอบตามความรู้สึก)
3. นักเรียนเตรียมกระดาษวาดเขียน ดินสอ ยางลบและสีไม้ เพื่อใช้ในการวาดภาพระบายสี
4. ครูให้นักเรียนวาดภาพตามจินตนาการ จากนั้นใช้สีไม้ระบายภาพวาดของตนเอง ครูคอยให้กำลังใจและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
5. นักเรียนนำผลงานของตนเองมาวิจารณ์และชื่นชมร่วมกับเพื่อน
6. นักเรียนแสดงความรู้สึกหลังจากได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
7. นักเรียนเก็บวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการวาดภาพให้เรียบร้อย
8. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้ สีไม้ เมื่อนำมาระบายภาพแล้วจะเห็นเป็นลายเส้นที่สวยงาม
9. ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้
R นักเรียนมีวิธีการและเทคนิคการใช้สีไม้ในการระบายสีภาพของตนเองอย่างไร
.........นักเรียนวาดภาพตามจินตนาการ แล้วใช้สีไม้ระบายสีภาพวาดของตนเอง จากนั้นนำภาพของตนเองมาชื่นชมและวิจารณ์ผลงานร่วมกัน
การจัดบรรยากาศเชิงบวก
สื่อการเรียนรู้
1. บัตรภาพ
2. กระดาษวาดเขียน
3. ดินสอ
4. สีไม้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. วิธีการวัดและประเมินผล R สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
2. เครื่องมือ
R แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
3. เกณฑ์การประเมิน
R การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน
ผ่าน 1 รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน
คำอธิบายรายวิชาประเภทรายวิชาพื้นฐาน
ศ 22102 ศิลปะ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เวลา 40 ชั่วโมง จำนวน 1.0 หน่วยกิต
คำอธิบายรายวิชา
ด้านทัศนศิลป์
วาดภาพแสดงบุคลิกลักษณะของตัวละคร บรรยายวิธีการใช้งานทัศนศิลป์ในการโฆษณาเพื่อโน้มน้าวใจ และนำเสนอตัวอย่างประกอบ สร้างเกณฑ์ในการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ นำผลการวิจารณ์ไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา
บรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงของงานทัศนศิลป์ของไทยในแต่ละยุคสมัยโดยเน้นถึงแนวคิดและเนื้อหาของงาน เปรียบเทียบแนวคิดในการออกแบบงานทัศนศิลป์ ที่มาจากวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมสากล